Last updated: 24 พ.ค. 2565 | 919 จำนวนผู้เข้าชม |
ยาสูบเป็นพืชในเขตร้อน จึงมีแมลงศัตรูพืชที่หลากหลาย ดังนั้น ชาวไร่ยาสูบจึงใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตราย เมื่อฉีดสารเคมีจะฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ ก่อให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ชาวไร่ยาสูบและผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง
ในขณะที่การผลิตบุหรี่แต่ละมวนจำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อเชื้อเพลิงถูกเผาไหม้ ก็จะก่อให้เกิดก๊าซต่างๆ เช่นคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นต้น โดยก๊าซต่างๆ เหล่านี้จะถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ดังนั้นยิ่งมีความต้องการสูบบุหรี่มากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งมีส่วนทำให้เกิดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากกระบวนการผลิตบุหรี่มากขึ้นเท่านั้น
ส่วนการสูบบุหรี่ มีการพ่นควันหรือละอองไอน้ำที่ปนเปื้อนไปด้วยสารพิษนับพันชนิดสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากจะเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของผู้สูบและผู้ที่อยู่ใกล้เคียง รวมทั้งค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมในรูปของควันบุหรี่มือสองมือสามโดยเฉพาะในอาคารบ้านเรือนต่างๆ ที่เราเรียกว่า Indoor Pollution สารพิษบางชนิด ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในรูปของฝุ่นละอองขนาดเล็ก Particulate Matter ที่เร่งให้ปัญหามลภาวะทางอากาศมีความรุนแรงมากขึ้น โดยพบว่า ความเข้มข้นของค่า PM ในอาคารที่ปล่อยให้มีการสูบบุหรี่จะสูงเป็น 10 เท่าของอากาศที่ปล่อยออกจากเครื่องยนต์ดีเซล
ติดตามตอนต่อไปได้ที่
<a data-mce-href="
11 เม.ย 2566
25 เม.ย 2566
28 เม.ย 2566