โรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน...หัวขบวนความเสี่ยงต่อสุขภาพระยะยาว

Last updated: 17 ต.ค. 2565  |  1872 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน...หัวขบวนความเสี่ยงต่อสุขภาพระยะยาว

อันเนื่องมาจากรูปแบบชีวิตที่ปรับเปลี่ยนไปตามสมัย การกินอยู่ของผู้คนก็เปลี่ยนไปเช่นกัน การกินแบบเร่งด่วนทำให้ทางเลือกของอาหารมีไม่มากนัก หลายคนอาจเลือกกินอาหารที่เน้นแป้ง ไขมัน ไม่ค่อยได้รับประทานผักและผลไม้ รวมถึงการไม่ค่อยได้ออกกำลังกายจนนานวันเข้าเกิดการสะสมของไขมันจนเกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนในที่สุด ซึ่งผลต่อเนื่องจากนี้จะกลายเป็นสิ่งที่ย้อนกลับเข้ามาทำร้ายเราอย่างเจ็บป่วยในระยะยาว วันนี้เรามีเรื่องราวของโรคอ้วนกับความเสียงต่อสุขภาพมาแบ่งปันกัน

โรคอ้วนถือได้ว่าเป็นหัวขบวนที่จะส่งผลให้สุขภาพมีความเสี่ยงต่อโรคภัยอื่นๆที่จะตามมาดังนี้

1.  เบาหวานชนิดที่ 2
     เป็นโรคที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานซึ่งเกิดจากภาวะดื้อ อินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูง โดยจะพบประมาณ 8 ใน 10 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อเวลาผ่านไป ระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต ปัญหาสายสายตา เส้นประสาทถูกทำสาย และปัญหาสุขภาพอื่นๆ

2.  ความดันโลหิตสูง
     ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่เลือดไหลผ่านหลอดเลือดด้วยแรงที่มากกว่าปกติ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดในสมอง โรคไต ตลอดจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

3.  โรคหัวใจ
     โรคหัวใจหมายถึงโรคต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ได้แก่ หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หัวใจวายเฉียบพลัน หลอดเลือดหัวใจตีบ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ เป็นต้น

4.  โรคหลอดเลือดสมอง
     เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดโดยสาเหตุเกิดจากการ อุดตัน ตีบ หรือการแตกของเส้นเลือดในสมอง ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองสามารถทำลายเนื้อเยื่อสมองในส่วนต่างๆ จนทำให้ไม่สามารถพูดหรือขยับส่วนต่างๆ ของร่างกายได้

5.  ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
     ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นภาวะที่หายใจไม่สม่ำเสมอในขณะที่นอนหลับ หรืออาจหยุดหายใจพร้อมกันเป็นระยะเวลาสั้นๆ ซึ้งภาวะหยุดหายใจขณะหลับหากไม่ได้รับการรักษาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในด้านอื่นๆ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจ

6.  ภาวะเมตาบอลิซึมซินโดรม
     เป็นภาวะที่เกิดจากการเผาพลาญอาหารของร่างกายที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นกลุ่มภาวะที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โดยสาเหตุหลักๆมาจาก โรคอ้วน ภาวะดื้ออินซูลิน น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

7.  โรคไขมันพอกตับ
     โรคไขมันพอกตับเป็นภาวะที่ไขมันสะสมในตับ ซึ่งจะทำให้ตับถูกทำลายอย่างรุนแรง ทำให้เกิด โรคตับแข็งหรือตับวายได้

8. โรคข้อเข่าเสื่อม
     โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด บวม และลดการเคลื่อนไหวในข้อต่อของคุณ การมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการเพิ่มแรงกดที่ข้อต่อและกระดูกอ่อน

9. โรคถุงน้ำดี
    น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคถุงน้ำดี เช่นโรคนิ่วหรือโรคถุงน้ำดีอักเสบ สาเหตุมาจากที่น้ำดีมีคอเลสเตอรอลมากเกินไป

10. โรคมะเร็งบางชนิด
      น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนอาจจะมีความเสี่ยงในการพัฒนาของเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ เนื่องจากเซลล์ร่างการบางส่วนเริ่มแบ่งตัวโดยไม่หยุดและแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบข้าง

11. โรคไต
     โรคอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคไต แม้ว่าจะไม่มีโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนก็อาจส่งเสริมโรคไตและเร่งให้เกิดได้เร็วขึ้น

12. ปัญหาการตั้งครรภ์
     น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงเป็นอย่างมากของผู้ที่ตั้งครรภ์ และมีโอกาสสูงที่จะก่อให้เกิดโรคต่างได้ เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพที่รุนแรงต่อแม่และเด็กทารกในครรภ์ได้หากไม่ได้รับการรักษา และอาจจะทำให้ต้องผ่าตัดคลอด

13.  ปัญหาทางด้านอารมณ์
      ผู้ที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน มีโอกาสที่จะมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่แย่ลง เนื่องจาก ความอายที่มีต่อผู้อื่น ความถูกปฏิเสธหรือความสิ้นหวังที่ได้รับ หรือความรู้สึกผิดในเหตุการณ์ต่างที่เกิดขึ้น

      ฉะนั้นการควบคุมการกินให้เหมาะสมและเลือกอาหารที่ถูกสัดส่วน มีประโยชน์และปลอดภัย รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เราลดความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคภัยอย่างอื่นอีกด้วย



ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.niddk.nih.gov/health-information/weight-management/adult-overweight-obesity/health-risks

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้