มหกรรมสถานประกอบการสร้างเสริมสุขภาพ “คืน (ความ) สุข (ภาพ) แรงงานไทย ก้าวไกล…มาตรฐานสากล”

Last updated: 16 มิ.ย. 2561  |  1513 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มหกรรมสถานประกอบการสร้างเสริมสุขภาพ “คืน (ความ) สุข (ภาพ) แรงงานไทย ก้าวไกล…มาตรฐานสากล”

     มื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2558 ณ ณ หอประชุม ที.โอ.ที. แจ้งวัฒนะ สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานมหกรรมสถานประกอบการสร้างเสริมสุขภาพ “คืน (ความ) สุข (ภาพ) แรงงานไทย ก้าวไกล…มาตรฐานสากล” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณสถานประกอบการที่ได้มีความพยายามในการสร้างเสริมสุขภาพแรงงานและส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางปฏิบัติเพื่อคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของแรงงาน ซึ่งจัดเป็นการยกระดับสถานประกอบการสู่มาตรฐาน AEC หรือมาตรฐานสากล ซึ่งมีสถานประกอบการจากทั่วประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานที่มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลแรงงาน หน่วยงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ ภาคีเครือข่ายด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และเครือข่ายสถานประกอบการสร้างเสริมสุขภาพ (คสส.) เข้าร่วมงานดังกล่าว โดยกิจกรรมภายในงานประกอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยภาคเช้าเป็นเวที เสวนา “การสร้างเสริมสุขภาพแรงงาน พาสถานประกอบการไปสู่มาตรฐานสากลได้อย่างไร” ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลจากสถานประกอบการที่ได้ดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในองค์กร โดยมีบริษัท อาหารเบทเทอร์ จำกัด บริษัท อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ จำกัด (มหาชน) ทั้ง 2 บริษัท ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจจากกรณีศึกษา กำไรที่ได้จากการเป็นสถานประกอบการสร้างเสริมสุขภาพ นอกจากนั้นยังมีสถานประกอบการ อย่างบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โปรดักส์ ดีเวลลอปเม้นท์ เมนูแฟคเจอร์ริง จำกัด และบริษัท พี.ซี.โปรดักส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้กล่าวถึง การสร้างเสริมสุขภาพ…พาสถานประกอบการสู่ระบบมาตรฐานสากล/รางวัลเกียรติยศ เช่น ISO 9001/14000/18001, Food safety system certified 2200, GMP, HACCP สถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน, โครงการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจ เป็นสุข, มาตรฐานการป้องกันยาเสพติดในสถานประกอบการ (มยส.), CSR-DIW, Happy Work place ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นการชี้ให้เห็นว่า สถานประกอบการที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูง มักจะเป็นสถานประกอบการที่มีระบบการจัดการและบริหารองค์กรที่ดี และไม่เพียงแต่โอกาสในการเพิ่มคุณภาพและผลิตภาพการผลิต (Quality and Productivity) การลดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่ารักษาพยาบาล การประกันชีวิตและประกันอัคคีภัย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับสถานประกอบการทั้งสิ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือภาพลักษณ์อันดีงามขององค์กรซึ่งจะเป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจ โดยสถานประกอบการที่มีการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ย่อมมีโอกาสในการขยาย ติดต่อ เจรจาธุรกิจที่ดีกว่าสถานประกอบการซึ่งเพิกเฉยต่อปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการซึ่งจัดเป็นการยกระดับสถานประกอบการสู่มาตรฐาน AEC หรือมาตรฐานสากล กล่าวคือ การทำให้ลูกจ้างมีสุขภาวะที่ดี ด้วยการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้า หรือลดการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ จะทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถแข่งขันกับนานาประเทศทั่วโลกได้
 



     สำหรับในภาคเช้ายังต่อด้วยหัวข้อที่น่าสนใจ คือ  “รู้จัก พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่” โดย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ นพ.ชัย กฤติยาภิชาตกุล   ประธานวิชาการ สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ดำเนินรายการ: ผศ.ดร.มณฑา เก่งการพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการเสวนาถึงข้อเท็จจริง และความจำเป็น ของ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ รวมถึงการเตรียมความพร้อม (ก่อนใคร) ของสถานประกอบการเมื่อมี พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ โดยมีไฮไลท์ของช่วงนี้คือ สานพลังเสริมแรงสนับสนุน พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ อีกด้วย



และงานครั้งนี้ปิดท้ายด้วยการประกาศเกียรติคุณแก่สถานประกอบการที่ได้ดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของพนักงานด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา


 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้