Last updated: 26 ก.ย. 2561 | 2225 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder)
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นไม่ได้ถูกจัดประเภทว่าเป็นคนบ้าหรือคนไม่ดีแต่อย่างใด หากแต่เป็นผู้ป่วยที่มีอาการป่วยทางอารมณ์ที่ควรได้รับการรักษาและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ หรือในเด็กเองก็เกิดขึ้นได้ ซึ่งทั้งตัวผู้ป่วยเองหรือคนรอบข้างอาจไม่ทันสังเกตเห็น
สาเหตุ
สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการซึมเศร้ามาจากหลายปัจจัย ทั้งจากด้านกรรมพันธุ์ พัฒนาการของจิตใจ และสิ่งแวดล้อมที่เผชิญ เช่น ประสบกับความเครียดหนัก ๆ เจอมรสุมชีวิต เจ็บป่วยเรื้อรังจนหมดกำลังใจ พบกับความสูญเสียในชีวิต
อาการ
อาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นสร้างผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในประจำวันอย่างมาก เช่น รับประทานอาหารได้น้อยลง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ มีความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุขกับชีวิต ในหัวสมองมักมีแต่ความวิตกกังวล ที่สำคัญผู้ป่วยไม่มีความสามารถในการประสานความคิดและความรู้สึกของตัวเองเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างดีพอ ซึ่งในประเทศไทย โรคซึมเศร้านั้นถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยที่มีความสำคัญและน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยสังเกตได้จากสังคมในปัจจุบันนี้ที่มักมีข่าวเกี่ยวกับปัญหาการฆ่าตัวตาย รวมทั้งปัญหาการทำร้ายร่างกายของตัวเองและคนรอบข้าง ซึ่งอาจมีอาการาอื่นๆร่วมด้วย คือ
- มีอารมณ์ซึมเศร้า รู้สึกตนเองไร้ค่า
- ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก
- น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก หรือมีการเบื่ออาหาร
- นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป
- กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
- อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
- สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเล ตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆไม่ได้
- คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย
ทั้งนี้ โรคซึมเศร้าสลับกับอารมณ์ดีผิดปกตินี้ต้องการการรักษาด้วยยาที่ต่างไปจากโรคซึมเศร้าธรรมดา ดังนั้นเมื่อพบผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า แพทย์มักจะถามว่าเคยมีช่วงที่อารมณ์ดีผิดปกติหรือไม่ เพื่อช่วยแยกโรคให้ถูกต้อง นอกจากนี้ครอบครัวและญาติพี่น้องถือเป็นคนสำคัญในทีมรักษา การคอยให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษาได้จะช่วยได้มาก
25 เม.ย 2566
28 เม.ย 2566
11 เม.ย 2566