Last updated: 10 ธ.ค. 2564 | 2329 จำนวนผู้เข้าชม |
ไอระเหยจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าอนุภาคในควันบุหรี่มวน ใกล้เคียงกับขนาดของ pm 2.5 ซึ่งจะเข้าไปไนปอดเราได้ลึกมาก และอนุภาคที่เล็กมากนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะจับกับเนื้อเยื่อปอดและสามารถถูกดูดซึมสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ ศ. นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยโดยหนูทดลอง ให้หายใจเอาไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้าเข้าไปวันละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 5 วัน เมื่อผ่านไป 4 เดือน พบว่าเยื่อบุหลอดลมและถุงลมปอดมีการหลั่งสารเคมีที่บ่งบอกถึงการได้รับความระคายเคืองของเนื้อเยื่อ และมีการทำลายของเนื้อเยื่อปอด ซึ่งเหมือนกับการเปลี่ยนแปลงระยะแรกของโรคถุงลมโป่งพองในหนูที่ได้รับควันบุหรี่ธรรมดา (Garcia-Arcos วารสาร Thorax 24 สิงหาคม 2559)
จากงานวิจัยที่ ศ. นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ได้นำมาเสนอ แสดงให้เห็นแล้วว่าบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้ปลอดภัยกว่าบุหรี่ธรรมดาเลย เปรียบเหมือนว่า “การที่ยางรถยนต์ระเบิดอาจทำให้อัตรายถึงแก่ชีวิตแต่เป็นสิ่งที่มองเห็นตรงหน้า แต่ถ้าหนูกัดสายเบรกขาดก็ทำให้ถึงตายเหมือนกัน แต่มันเกิดจากภายในไม่สามารถเห็นจากภายนอกได้” ละอองบุหรี่ไฟฟ้าก็เช่นกัน มันทำลายจากข้างใน ตอนนี้ยังไม่มีงานวิจัยที่ทำการศึกษาบุหรี่ไฟฟ้าระยะยาว เพราะยังอยู่ในระยะแรกที่เริ่มมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย แต่หากถึงเวลาที่ผลการศึกษาระยะยาวได้เผยแพร่ออกมาแล้ว จะสายเกินไปหรือไม่ที่คนไทยจะต้องมาเจ็บป่วย สูญเสียค่ารักษาพยาบาลแทนที่จะนำค่าใช้จ่ายนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นที่สร้างประโยชน์ได้มากกว่า
-----------------------------------------------------------------
สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ที่มา:
- ประกิต วาทีสาธกกิจ. 2560. บุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงโรคปอดโรคหัวใจไม่ต่างจากบุหรี่ธรรมดา. เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์ เพื่อการไม่สูบบุหรี่ แหล่งที่มา: https://www.xn--12c8dbdcakpak3h7al.com/ สืบค้นวันที่ 8 ธันวาคม 2564
28 เม.ย 2566
11 เม.ย 2566
25 เม.ย 2566