kitikoy

kitikoy

ผู้เยี่ยมชม

  ีข้อกำหนดหรือข้อแนะนำการจัดที่สูบบุหรี่สำหรับพนักงานกรณีCovid—19 (5016 อ่าน)

30 เม.ย 2564 12:02

ด้วยมีหลายสถานประกอบการสอบถามเข้ามาเกี่ยวกับ ข้อกำหนดหรือข้อแนะนำการจัดที่สูบบุหรี่สำหรับพนักงานกรณีCovid—19 ทางโครงการจึงขอเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลและข้อควรปฏิบัติสำหรับการจัดพื้นที่สูบบุหรี่เพื่อประโยชน์ในการจัดการพื้นที่ของสถานประกอบการ

กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบ ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ได้มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดพื้นที่โดยอ้างอิงเพิ่มเติมจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 19 พ.ศ.2553ที่มีเจตนารมย์เพื่อคุ้มครองผู้ไม่สุบบุหรี่มิให้ต้องรับควันบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ โดยการห้ามสูบบุหรี่ในบางสถานที่ และทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำมาจัดทำเป็นข้อควรปฏิบัติของสถานประกอบการ(โรงงานอตุสาหกรรม) ข้อมูลเพิ่มเติมตามลิงค์ https://www.healthyenterprise.org/content/20222/hpe-14-8-63

แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ประกอบกับข้อมูลงานวิจัยต่างๆกับกลไกการเกิดโรคโควิด 19 มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสในการแพร่ระบาดของโรค รวมถึงหากผู้สูบบุหรี่เกิดการเจ็บป่วยโรคโควิด 19 ก็จะสามารถเกิดความรุนแรงของการเจ็บป่วยได้มากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ได้ และจากการสอบถามนักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการกำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ได้ใจความว่า ดีที่สุดคือไม่ควรมีการสูบบุหรี่เลย เพราะขณะสูบบุหรี่ ทุกคนต้องถอด mask



ในส่วนของโครงการมองจากมุมของสถานประกอบการหากที่ไหนสามารถทำได้และมีโอกาสในการจัดการให้เป็นไปได้ตามคำแนะนำดังกล่าว โดยที่ไม่มีผลกระทบตามมาที่อาจส่งผลเสียต่อบริษัทได้ เช่น แอบสูบในพื้นที่ห้ามสูบและมีความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย เป็นต้น สามารถใช้โอกาสนี้ในการดำเนินการไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในสถานประกอบการได้เลย และส่วนพนักงานที่ยังสูบบุหรี่ สถานประกอบการสามารถให้การสนับสนุนให้ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่

แต่หากในกรณีที่ไม่สามารถทำได้จริงๆ ในฐานะที่สถานประกอบการเป็นแหล่งรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ดังนั้นหากไม่มีการจัดการที่ดีก็มีโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคได้ เพราะโดยธรรมชาติของผู้สูบบุหรี่ แน่นอนว่าในขณะสูบบุหรี่ต้องมีการถอดหน้ากากอนามัยออก มือมีโอกาสสัมผัสสารคัดหลั่ง (น้ำมูก เสมหะ น้ลาย) ซึ่งเป็นแหล่งกระจายเชื้อได้ มีการพูดคุยกันระหว่างการสูบบุหรี่ และจำนวนผู้สูบบุหรี่ในพื้นที่ที่กำหนดก็อาจจะไม่สอดคล้องตามมาตรการเว้นระยะห่างได้ ดังนั้นสถานประกอบการควรมีการจัดการที่เหมาะสม โดยทางโครงการได้แลกเปลี่ยนกับสถานประกอบการที่ดำเนินการแล้ว จึงสรุปมาเป็นข้อแนะนำในการดำเนินการ ดังนี้

1. จัดพื้นที่สูบบุหรี่ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
2. จัดให้มีที่ทำความสะอาดมือ ก่อนและหลังเข้าพื้นที่สูบบุหรี่
3. จัดให้มีมาตรการการเว้นระยะห่างของผู้สูบบุหรี่ ทั้งกำหนดจำนวนให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่มี การนั่งไม่ให้หันหน้าเข้าหากัน เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร หรือที่ดีที่สุดสำหรับข้อแนะนำนี้คือเข้าได้ครั้งละ 1 คน
4. กติกาในการอยู่ร่วมกันในพื้นที่สูบบุหรี่ เช่น ห้ามมีการพูดคุยกันระหว่างสูบบุหรี่ ทิ้งก้นบุหรี่ให้ลงถังขยะห้ามทิ้งลงพื้นโดยเด็ดขาด ห้ามกระทำการใดที่ทำให้มีสารคัดหลั่งปนเปื้อนในพื้นที่สูบบุหรี่ เช่น บ้วนน้ำลาย เสมหะ หรือสั่งน้ำมูก ห้ามแบ่งสูบ ทั้งมวนบุหรี่ อุปกรณ์ต่างๆเป็นต้น
5. ทำความสะอาด (ฆ่าเชื้อ) ตามมาตรฐานและช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยพิจารณาตามช่วงเวลาที่สถานประกอบการกำหนดให้สูบบุหรี่ได้เฉพาะเวลา ก่อนและหลัง เช่น กำหนดให้พนักงานสูบบุหรี่ได้เฉพาะเวลา 10.00 - 10.15 น. ต้องมีการทำความสะอาดก่อนและหลังอย่างเหมาะสม และต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันพนักงานที่เข้ามาทำความสะอาดไม่ให้มีโอกาสสัมผัสเชื้อจากการทำสะอาด
และสุดท้ายข้อนี้สำคัญมากๆ คือการจัดการตามมาตรการดังกล่างต้องให้ผู้สูบบุหรี่เข้าใจอย่างทั่วถึง และสถานประกอบการดำเนินควบคุม กำกับตามาตรการที่กำหนดอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง

118.174.183.17

kitikoy

kitikoy

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้